ปลาโมง

ปลาโมง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Basa Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pangasius bocourti  Sauvage, 1880
ถิ่นอาศัย : พบในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป : เป็นปลาตระกูลเดียวกับปลาสวายที่มีส่วนหัวกลมมน ส่วนท้องไม่มีสัน มีเมือกมาก รูปร่างแบนแบบ fusiform คือ เมื่อมองทางด้านข้างจะดูคล้ายกระสวยทอผ้า (torpedo shaped ) แต่ถ้ามองด้านหน้า โดยภาพตัดขวาง (cross section) รูปร่างคล้ายวงรี แบบแบนข้าง (compress form) คือลำตัวทางด้านซ้ายและขวา มีลักษณะแบนเข้าหากัน ลักษณะเด่นของปลาโมงที่แสดงถึงความแตกต่างจากปลาชนิดอื่นในตระกูลเดียวกัน  คือ ส่วนหัวที่กลมมนกว่าและกระเพาะลมแบ่งเป็นสองตอนและเมื่อสัมผัสพบว่ามีเมือกที่เหนียวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปลาโมงมีต่อมสร้างเมือก ( mucous gland) ซึ่งจะขับเมือกออกมาบริเวณรูโคน ครีบหู จำนวน ๓ รู

ปลาโมงในแถบจังหวัดนครพนม มุกดาหาร เรียกว่า "ปลาเผาะ" จังหวัดหนองคาย อุดรธานี เรียกว่า "ปลายาง " ภาคกลาง เรียกว่า "ปลาอ้ายด้อง" ภาคเหนือ เรียกว่า "ปลาโมง"
ขนาด : พบใหญ่สุดขนาดความยาว 80 เซนติเมตร
อาหาร : เป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ (กินลูกไม้ หอย กุ้ง ปูและสัตว์หน้าดิน)

สถานภาพ :พบทั่วไป