แผนที่การเดินทาง
สถานที่จัดแสดงโลกของปลาแม่น้ำโขง (พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืดหนองญาติ) ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : สถานที่ตั้ง : ถนนสายนาแก-นครพนม ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
แหล่งอ้างอิง ในการรวบรวมข้อมูล ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าและผู้ให้ความรู้จาก
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืดหนองญาติ รูปภาพและข้อมูล
Posted by Unknown, On 15:06
ปลากระเบน
Fisheries
ปลากระเบน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Himantura chaophraya (Monkolprasit & Roberts, 1990)
Class : Elasmobranchii
Order : Rajiformes
Family : Dasyatidae
ลักษณะทั่วไป :
ปลากระเบนน้ำจืดเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลากระเบน เป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปทรงคล้ายจานและว่าว ปลายหัวแหลมขอบด้านหน้ากลมมน ลักษณะตัวเกือบจะเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนังลักษณะคล้ายแส้ โคนหางมีเงี่ยงแหลมคม 2 อัน มีต่อมพิษอยู่ใกล้ๆ ซึ่งจะปล่อยพิษออกมาทางเงี่ยงได้ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบๆ ด้านบนของปีกและตัวมีสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางมีสีคล้ำ ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ กระเบนน้ำจืดโดยทั่วไปมีลำตัวกว้างประมาณ 20-50 เซนติเมตร ปลากระเบนน้ำจืด นำมาประกอบอาหารได้แต่ไม่ค่อยนิยม เพราะในบางคนจะเกิดอาการแพ้
การขยายพันธุ์ : กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
Posted by Unknown, On 14:57
ปลานิล
Fisheries
ปลานิล
ชื่อสามัญ : Nile Tilapia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orcochromis niloticus
ลักษณะทั่วไป
เป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ แตกต่างกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัวมีความยาวประมาณ 10 - 30 เซนติเมตร
นิสัย
อดทน เลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
ถิ่นอาศัย
ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยเจ้าชายฮากิฮาโต มงกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 จำนวน 50 ตัว
อาหาร
จำพวกไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง
Posted by Unknown, On 14:20
ปลานวลจันทร์
Fisheries
ปลานวลจันทร์
ชื่อสามัญ : Small Scale Mud Carp
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cirrhina microlepis
ลักษณะทั่วไป
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างเพรียวบาง ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก สีของลำตัวมีตั้งแต่สีส้มปนเทา จนถึงน้ำตาลปนสีขาวเงิน ท้องสีขาว ครีบหลัง ครีบหางเป็นสีน้ำตาลปนเทามีขนาดความยาวประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร
นิสัย ปราดเปรียวว่องไว ไม่ค่อยอยู่นิ่ง อดทน เลี้ยงง่าย ชอบว่ายอยู่บริเวณพื้นน้ำ มักพบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ และหลบซ่อนตัวอาศัยอยู่ตามรากไม้หรือโขดหิน
ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่อยุธยาจนถึงนครสวรรค์ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบแถบชายทะเล ชายแดนติดต่อแม่น้ำโขง
อาหาร พืช แมลง และกุ้ง
Posted by Unknown, On 14:13
ปลาเทโพ (ปลาหูหมาด)
Fisheries
ปลาเทโพ (ปลาหูหมาด)
ชื่อสามัญ : Black Ear Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pangasius larnaudii
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายปลาสวาย เพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกัน มีหัวโต หน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาว ค่อนข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโต อยู่เหนือมุมปาก มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ริมฝีปากบนมุมปากแห่งละคู่ ลักษณะมีสีคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียว ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่อยู่เหนือครีบหู มีขนาดความยาวประมาณ 80 - 120 เซนติเมตร
นิสัย รักสงบ ว่องไวปราดเปรียว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง
ถิ่นอาศัย เคยชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันพบในแม่น้ำโขง
อาหาร สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
Posted by Unknown, On 13:25
ปลาสวาย
Fisheries
ปลาสวาย
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Iridescent shark, Striped catfish, Sutchi catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Pangasianodon
hypophthalmus (Sauvage, 1878)
ถิ่นอาศัย
:
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
: มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง
ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน
รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8-9 เส้น ครีบก้นยาว
ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง
ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล
ด้านข้างลำตัวสีจาง มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอิสานว่า “ปลาสวาย”
ขนาด
:
พบใหญ่สุดความยาว 120 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ (ปลา กุ้ง ซากพืชและซากสัตว์ )
สถานภาพ : พบทั่วไปPosted by Unknown, On 09:19
ปลาตองลาย
Fisheries
ปลาตองลาย
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Royal Clown Knife, Blanc's Stripe Featherback
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Chitala
blanci (d' Aubenton, 1965)
ถิ่นอาศัย
:
แม่น้ำโขงในอาณาเขตประเทศเขมร ลาว และไทย
ลักษณะทั่วไป
: ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวด้านข้างแบนมาก พื้นลำตัวสีขาวเงิน
ส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มอมดำ หรือสีเทาเขียว บริเวณส่วนหน้าของลำตัวมีจุดสีดำประปรายอยู่ข้างลำตัว
ส่วนท้ายมีขีดสำดำเล็กๆ พาดเฉียงจากส่วนบนของลำตัวไปถึงครีบก้น และครีบหาง
เกล็ดมีขนาดเล็กสีขาวเงิน มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอิสานว่า “ปลาตองลาย”
ขนาด
:
พบใหญ่สุดความยาว 100 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินเนื้อ (กินปลา กุ้ง และแมลงน้ำ)
สถานภาพ
:
หายาก
Posted by Unknown, On 09:15
ปลาเนื้ออ่อน ปลาแดง
Fisheries
ปลาเนื้ออ่อน ปลาแดง
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Whisker Sheaifish
ถิ่นอาศัย
:
พบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำมูล อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์และแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
:
ไม่มีเกล็ด ตาโต ปากกว้างรูปร่างลำตัวเพรียวยาว ด้านข้างแบนมาก
คอนหัวกว้าง ส่วนหัวแบนลง ด้านหลังของหัวยกขึ้นเล็กน้อย
แล้วค่อยๆลาดไปถึงบริเวณกลางหาง ไม่มีครีบหลัง มีหนวดสั้น 2 คู่
ที่มุมปากและใต้คางครีบหางเว้าสั้นหรือเป็นแฉก สีของลำตัวค่อนข้างใสเป็นสีเงิน
ด้านบนลำตัวสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียวหรือขาวชมพูซึ่งสีของปลามีความแตกต่างกันในแต่ละแหล่งน้ำ
มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอิสานว่า “ปลานาง,ปลาเชือม”
ขนาด
:
พบขนาดใหญ่สุดมีความยาว 80 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินเนื้อ (กินปลา กุ้ง และแมลง)
สถานภาพ
:
พบทั่วไป
Posted by Unknown, On 09:14
ปลากระแห
Fisheries
ปลากระแห
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Tinfoil barb
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Barbonymus
schwanenfeldii (Bleeker, 1850)
ถิ่นอาศัย
:
พบในแม่น้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
: รูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต
มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก
เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น
ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว
ขนาด
:
พบใหญ่สุดความยาว 35 เซนติเมตร
อาหาร
:
พืช สัตว์น้ำประเภทกุ้ง และแมลง
สถานภาพ
:
พบทั่วไป
Posted by Unknown, On 23:59
ปลาแรด
Fisheries
ปลาแรด
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Giant gourami
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Osphronemus
goramy Lacépède, 1801
ถิ่นอาศัย
:
แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขงตอนล่าง
ลักษณะทั่วไป
: ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด
ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ
แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน
เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด
ขนาด
:
พบใหญ่สุดความยาว 70 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ (กินพืชน้ำ แมลง และกุ้ง)
สถานภาพ
:
พบทั่วไป
Posted by Unknown, On 23:55
ปลาเทพา
Fisheries
ปลาเทพา
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Chao
Phraya Giant Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pangasius sanitwongsei Smith, 1931
ถิ่นอาศัย
: แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป : มีส่วนหัวและปากกว้าง มีฟันแหลมคม
รูปร่างป้อม ลำตัวลึก ส่วนหลังยกสูงปลายครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องยื่นเป็นเส้นยาว
ครีบหางเว้าลึก เมื่อว่ายน้ำจะตั้งชั้นเหมือนปลาฉลาม ปลาวัยอ่อนมีสีเทาคล้ำ
ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำแนวเฉียง ท้องสีจาง ครีบมีแต้มสีดำ
ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ
ครีบก้นตอนหน้ามีแถบสีคล้ำตามแนวยาว ครีบหางมีแถบสีจางตามแนวยาวทั้ง 2 แฉก
มีชื่อเรียกเป็นภาษาอิสานว่า “ปลาเลิม”
ขนาด : พบใหญ่สุดความยาว 250 เซนติเมตร
อาหาร : เป็นปลากินเนื้อ (กินปลา กุ้ง และซากสัตว์)
สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์
Posted by Unknown, On 23:53
ปลาเสือ ปลาเสือพ่นน้ำ
Fisheries
ปลาเสือ ปลาเสือพ่นน้ำ
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Shooting Fish, Archerfish
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Toxotes
chatareus Hamilton, 1822
ถิ่นอาศัย
:
แม่น้ำ แหล่งน้ำกร่อยทั่วประเทศ และแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
: มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม
ปากกว้างมีขนาดใหญ่เฉียงลงด้านล่างและจะงอยปากยืดหดได้ มีตากลมโต เกล็ดสาก
ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะใสโปร่งแสง
พื้นลำตัวสีขาวอมเหลือง มีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4 จุด
ขนาด
:
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร
อาหาร
:
กินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย เป็นต้น
Posted by Unknown, On 23:49
ปลาตะเพียนขาว
Fisheries
ปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนขาว
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Java barb, Silver barb
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Barbonymus
gonionotus (Bleeker, 1850)
ถิ่นอาศัย
:
พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง จนถึงลุ่มน้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
: ลำตัวแบนข้าง ขอบหลังโค้งยกสูงขึ้น หัวเล็ก ริมฝีปากบางระงอยปากแหลม
มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 29-31 เกล็ด ลำตัวมีสีน้ำเงิน บริเวณส่วนหลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวนวล
ขนาด
:
พบใหญ่สุดความยาว 50 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินพืช(กินพืชบกและพืชน้ำ)
สถานภาพ
:
พบทั่วไป
Posted by Unknown, On 23:47
ปลาฉลามหางไหม้
Fisheries
ปลาฉลามหางไหม้
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Bala shark, Burn tail shark, Silver shark, Black tailed shark
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balantiocheilos
ambusticauda
ชื่อไทยอื่นๆ : ปลาหางไหม้ ปลาหางเหยี่ยว
ถิ่นอาศัย
: พบในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป : ปลาหางไหม้มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวบาง
เกล็ดค่อนข้างใหญ่ สัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว
โดยเฉพาะครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน ด้านหลังสีเขียวปนเทา
ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหางสีเหลือง และขอบเป็นแถบดำ
ปลาหางไหม้ว่ายน้ำปราดเปรียวและกระโดดขึ้นได้สูง
ขนาด : ตัวโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
อาหาร : กินพืช แมลง
และตัวอ่อนแมลง
Posted by Unknown, On 23:42
ปลาไน
Fisheries
ปลาไน
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Carp, Common carp
ชื่อสามัญ : ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Cyprinus carpio (Linnaeus, 1758)
ชื่อภาษาอื่น :
ภาษาจีน เรียกว่า หลีฮื้อ หรือ หลีโฮว
ในแถบภาคพื้นยุโรปและอเมริกา เรียกว่า คอมมอนคาร์พ
ถิ่นอาศัย
:
ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน อยู่ในแม่น้ำ หนอง
บึงหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ลักษณะทั่วไป
:
เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก
มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก
สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน
ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก
ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ
ขนาด
:
ขนาดโตเต็มที่ได้มากกว่า 1.5 เมตร หนักกว่า 134 ปอนด์ 7 ออนซ์ หรือ 60 กิโลกรัม
อาหาร
:
พืช แมลง
สถานภาพ
:
เป็นปลาเศรษฐกิจ
Posted by Unknown, On 23:39
ปลาคู้แดง หรือ ปลาเปคูแดง
Fisheries
ปลาคู้แดง หรือ ปลาเปคูแดง
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Red bellied pacu
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Piaractus
brachypomus (Cuvier, 1818)
ถิ่นอาศัย
:
มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอล บราซิล แม่น้ำลาปาต้า
และแม่น้ำโอริโคในประเทศอาเจนติน่า
ลักษณะทั่วไป
: ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย
Serrasalminae มีรูปร่างเหมือนกับปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus
nattereri) แต่ปลาคู้แดงมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า
กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมาและลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับปลาปิรันยาแดง
เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด มีสีสันแวววาวเหมือนกับปลาปิรันยาแดง
แต่ในส่วนของสีแดงไม่เข้มเท่า แต่ลูกปลาวัยอ่อนมีจุดกลมสีแดงเหมือนกัน
และจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ เล็กลงและหายไปเมื่อปลาโตขึ้น
ขนาด
:
ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 80 เซนติเมตร น้ำหนักหนัก 25 กิโลกรัม
อาหาร
:
กินได้ทั้งพืชและสัตว์
Posted by Unknown, On 23:36
ปลาสังกะวาดเหลือง
Fisheries
ปลาสังกะวาดเหลือง
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Macronema catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Pangasius macronema
Bleeker, 1851
ถิ่นอาศัย
:
พบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
: เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหลายสิบตัว รูปร่างคล้ายปลาสวาย
แต่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวเรียวและมีหนวดยาว โดยเฉพาะหนวดคู่ที่มุมปาก
ปลายหนวดยาวเลยฐานของครีบท้อง ชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ ลำตัวยาวเรียว ว่ายน้ำได้รวดเร็ว
และปราดเปรียว ลำตัวมีสีขาว ด้านสันหลังเป็นสีเทาคล้ำ ครีบหางมีแถบสีดำ
ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
ขนาด
:
พบใหญ่สุดขนาดความยาว 35 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ (กินพืชน้ำ ลูกไม้ และสัตว์หน้าดิน)
สถานภาพ
:พบทั่วไป
Posted by Unknown, On 23:30
ปลาบึก
Fisheries
ปลาบึก
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Mekong giant catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Pangasianodon
gigas (Chevey, 1931)
ถิ่นอาศัย
:
พบในแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป
: ปลาบึกเป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลำตัวค่อนข้างกลม ท่อนหางแบน
ปากเล็กมีหนวด 2 คู่ นัยน์ตาเล็กตั้งอยู่แนวเดียวกับมุมปาก
ระยะวัยอ่อนมีฟันบนขากรรไกรทั้งล่างและบน เมื่อเจริญวัยขึ้นฟันจะหลุดหายไปจนหมดปาก
ลำตัวสีเทาปนดำ ท้องและสีข้างเป็นสีเหลือง ใต้ท้องสีเงิน
ขนาด
:
พบใหญ่สุดความยาว 300 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ (ลูกปลาบึกสามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด
เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลาที่ไม่มีชีวิตและอาหารเม็ด แต่จากการที่ฟันเสื่อมหายไปเมื่อเข้าสู่วัยการเจริญพันธุ์ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าปลาบึกอาจจะกินอาหารประเภทพืชเท่านั้น)
สถานภาพ
:
มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
Posted by Unknown, On 23:17
ปลายี่สก
Fisheries
ปลายี่สก
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต
มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว
สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว
แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู
อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย
ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก
วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว
บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน
ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม
พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง
ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำแม่กลอง
ยี่สก
มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น " เอิน " หรือ "
เอินตาแดง " ในภาคอีสาน " ยี่สกทอง " หรือ " อีสก " หรือ
" กะสก " ในแถบแม่น้ำน่าน และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า " ปลาเสือ
" เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้
จึงทำให้ ยี่สกกลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ
แต่ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียม สำเร็จขึ้นในปี พ.ศ. 2517
และสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย
ยี่สกเป็นปลาที่ทำเป็นป้ายบอกชื่อถนนในตัวอำเภอเมือง
จังหวัดกาญจนบุรี เพราะเคยเป็นถิ่นที่ได้ชื่อว่ามียี่สกชุกชุมในอดีต
Posted by Unknown, On 23:05
ปลาบู่ทราย
Fisheries
ปลาบู่ทราย
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Sleepy goby, Marbled sleeper
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Oxyeleotris
marmorata (Bleeker, 1852)
ชื่อไทยอื่นๆ
: ปลาบู่ทอง
ถิ่นอาศัย
:
แม่น้ำ หนอง และบึงทั่วประเทศ
ลักษณะทั่วไป
: หัวค่อนข้างโต และด้านบนของหัวแบนราบ หัวมีจุดสีดำประปราย
ปากกว้างใหญ่เปิด ทางด้านบนตอนมุมปากเฉียงลงและยาวถึงระดับกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบน
ทั้งขากรรไกรบนและล่างมีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ ลักษณะฟันเป็นฟันแถวเดียว
ลูกตาลักษณะโปนกลมอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากบนเล็กน้อย
รูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาอยู่ติดกับร่องที่แบ่งจะงอยปากกับริมฝีปากบน
ครีบหูและครีบหางมีลักษณะกลมมนใหญ่ มีลวดลายดำและสลับขาว มีก้านอ่อนอยู่ 15-16
ก้าน ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบอันหน้าสั้นเป็นหนาม 6 ก้าน เป็นก้านครีบสั้นและเป็นหนาม
ครีบอันหลังเป็นก้านครีบอ่อน 11 ก้าน
ครีบท้องหรือครีบอกอยู่แนวเดียวกับครีบหูและมีก้านครีบอ่อน 5 ก้าน
สีลำตัวสีน้ำตาลเหลืองมีรอยปื้นสีดำกระจายไปทั่วตัว
ในบางตัวสีอาจกลายเป็นสีเหลืองทองได้ จึงทำให้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า
"ปลาบู่ทอง"
อาหาร
:
ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ
Posted by Unknown, On 22:57
ปลาชะโด
Fisheries
ปลาชะโด
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Great snakehead, Giant snakehead
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Channa
micropeltes (Cuvier, 1831)
ถิ่นอาศัย
:
แม่น้ำ หนอง และบึงทั่วประเทศ
ลักษณะทั่วไป
: เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร
หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว
มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม
เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด
เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอิสานว่า
“ปลาโด”
ขนาด
:
พบใหญ่สุดความยาว 150 เซนติเมตร
อาหาร
:
เป็นปลากินเนื้อ (กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ)
สถานภาพ
:
พบทั่วไป
Posted by Unknown, On 22:53
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)